วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

การป้องกันการพังทลายของดินริมฝั่งแม่น้ำ

เนื่องจากปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ตามกาลเวลาเพราะทุกๆประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ้งการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกก็ทำฬห้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นและทำฬห้เกิดภาวะโลกร้อนฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดอุทกภัยภัยพิบัติต่างๆตามมามากมายซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินซึ่งกลุ่มเราได้เห็นปัญหาการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำเนื่องจากน้ำหลากซึ่งเป็นผลมาจากฝนตกหนักสะสมเป็นเวลานานซึ่งทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดการพังทลายของริมฝั่งแม่น้ำเนื่องจากริมฝั่งแม่น้ำมีความคดเคียวไม่มีพืชปกคลุมตลิ่งและริมฝั่งแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นเขตที่อยู่อาศัยของประชาชนถ้าเกิดการพังทลายของติ่ลงริมแม่น้ำก่อจะเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและบ้านเรือนของประชากรเราจึงหาวิธีป้องกันการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำด้วยวิธีการสร้างรั่วป้องกันการพังทลายของดินโดยการวิธีJet Grouted Piles วิธีการป้องกันการพังทลายของดินริมฝั่งแม่น้ำ การป้องกันการพังทลายของดินริมฝั่งแม่น้ำมีหลายวิธีด้วยกัน มีทั้งการฝังเสาเข็มเพื่อสร้างรั้วป้องกันหรือการปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดเกาะหน้าดิน แล้วมีอีกวิธีหนึ่งคือการปลูกพืชยืนต้นที่มีรากแก้วแข็งแรงริมฝั่งแม่น้ำ เราจะเริ่มพูดถึงวีการฝังเสาเข็มเพื่อสร้างรั้วป้องกัน เราจะเริ่มจากการเกลี่ยพื้นที่ที่เราจะตอกเสาเข็มแล้วเราก็เริ่มตอกเสาเข็มเป็นระยะแล้วสร้างรั้วป้องกันเพื่อป้องกันการพังทลาย แต่วิธีนี้ใช้ต้นทุนสูงมากในการสร้างแต่รวดเร็ว แล้วต่อมาเราจะพูดถึงการป้องกันโดยการปลูกหญ้าแฝก เราจะปลูกหญ้าแฝกตรงที่มีการพังทลายของดิน เหตุที่เราใช้หญ้าแฝกก็เพราะหญ้าแฝกมีรากลึกและเป็นฝอยกระจายยึดเกาะหน้าดินได้ดีแล้วอีกอย่างหญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ทนแดดได้สูงและขึ้นง่าย นอกจากรากของหญ้าแฝกจะยึดเกาะหน้าดินได้ดีแล้วใบของหญ้าแฝกยังใช้ไปกองแฝกมุ้งหลังคาได้อีก การใช้วิธีนี้จะประหยัดต้นทุนมากกว่าวิธีแรก แล้วอีกวิธีหนึ่งคือการปลูกต้นไม้ริมชายฝั่งโดยเราจะปลูกต้นไม้ยืนต้นโดยเราจะปลูกเป็นระยะแต่วิธีนี้จะมีข้อเสียคือเห็นผลได้ช้ากว่าวิธีอื่นแต่ได้ผลระยะยาวเพราะรากของต้นไม้ยืนต้นจะมีรากแก้วยึดเกาะหน้าดินได้ดีแล้วต้นไม้ยืนต้นยังช่วยลดปัญหาน้ำท่วมได้


สาเหตุของการพังทลาย
การพังทลายของตลิ่งแม่น้ำโขงส่วนใหญ่เกิดจากการกัด
เซาะของน้ำเป็นปัจจัยหลักโดยการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงมี
ความเร็วและแรง ทำให้ตลิ่งแม่น้ำโขงถูกกัดเซาะตลอดเวลา ซึ่ง
สามารถแสดงสภาพของตลิ่งที่เกิดการกัดเซาะได้ดังภาพที่ 5

ประเด็นสำคัญที่นำเสนอในกรณีศึกษานี้มีดังนี้
1.ผลกระทบสะสมจากสาเหตุทางธรรมชาติและจากมนุษย์ที่ทำให้ตลิ่งพังใน
เวียงจันทน์และบริเวณใกล้เคียง ภาพที่ 5 สภาพของตลิ่งที่เกิดการกัดเซาะ บ.ดงขวางท่า จ.นครพนม
2.วิธีทางวิศวกรรมและข้อจำกัดในการแก้ปัญหาตลิ่งพัง
3.ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางบริเวณท้ายน้ำและเขตประเทศอื่น
4.ความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อการวางแผนโครงการและการออกแบบทางวิศวกรรม และการจัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การก่อสร้างระบบ
ป้องกันตลิ่งโดยวิธี Jet Grouted Piles
การก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งโดยวิธี Jet Grouted Piles เป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านการพังทลายของตลิ่งที่น่าสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากทำงานได้สะดวกรวดเร็ว วิธีการทำงานและออกแบบไม่ยุ่งยากมากนัก รวมทั้งยังให้ความมั่นคงของตลิ่งไม่น้อยไปกว่าการสร้างกำแพงกันดินเมื่อเทียบกับความจำเป็นที่ต้องการ วิธี Jet Grouted Pile ถือเป็นเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้ Cement Column โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการปรับปรุงดินอ่อนในที่ซึ่งมีคุณภาพต่ำไม่เหมาะสมที่จะใช้ในงานก่อสร้างให้มีสภาพเป็นดินที่แข็งตัว มีความทึบน้ำมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนรูปมากขึ้น ในขณะที่หน่วยน้ำหนักจะเบาขึ้นเล็กน้อย สารผสมเพิ่มที่ใช้ปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้งดินเหนียวอ่อนและดินทราย ปกติจะใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง หากต้องการกำลังของดินอ่อนหลังทำการปรับปรุงให้มีกำลังสูงมากๆ ต้องเพิ่มปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและความแข็งแรงของวัสดุผสมที่ต้องการ
เทคนิคการก่อสร้าง Cement Column สามารถก่อสร้างด้วยวิธีผสมลึกทั้งแบบปั่นผสม (Rotary Mixed) และอัดฉีดแรงดันสูง (Jet Grouting) เทคนิคแบบปั่นผสมเหมาะสำหรับดินประเภท Cohesive
Soils หรือดินปนกรวด หรือดินปนหินขนาดใหญ่ ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น เทคนิคแบบอัดฉีดแรงดันสูงสามารถใช้ปรับปรุงดินได้ทุกประเภท ทั้งดินประเภท Cohesive Soils โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่มีความเหนียวมากอย่างดินในบริเวณกรุงเทพฯ และดินประเภท Cohesionless Soils
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ได้มีการพัฒนาเทคนิคปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธี Jet Grouting Technique ให้มีประสิทธิภาพสูง สามารถควบคุมคุณภาพการก่อสร้างไม่ให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างข้างเคียง และช่วยแก้ปัญหาในการก่อสร้างงานประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น งานก่อสร้างกำแพงกันดินชั่วคราว (Temporary Earth Retaining Structure) งานเสริมความแข็งแรงของดินที่ก้นบ่อขุดเพื่อต้านการยกตัวในงานขุดบ่อดิน (Strengthening Bottom Floor against Base Heaving in Excavation) งานปรับปรุงดินฐานรากซึ่งเป็นชั้นดินอ่อนที่หนามากเพื่อให้สามารถรองรับคันดินถมหรือลานดินถม (Foundation Improvement for Earth Embankment) ได้อย่างปลอดภัยและไม่เกิดการทรุดตัวเกินเกณฑ์ที่กำหนด งานเสริมความมั่นคงให้ตลิ่งริมน้ำทั้งที่มีหรือยังไม่มีโครงสร้างกำแพงคอนกรีตป้องกันตลิ่ง (Stabilizing Soil along River Banks or Strengthening Existing Retaining Structures) และงานก่อสร้างแนวกำแพงทึบน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำผ่านเข้าไปในบริเวณที่ต้องการป้องกัน (Impervious Cut-off Wall)
การพัฒนากำลังของวัสดุผสมดิน-ซีเมนต์
การพัฒนากำลังแรงอัดของวัสดุผสมดิน-ซีเมนต์ เกิดจากปฏิกิริยา Cement Hydration ที่ก่อให้เกิดสาร Calcium Silicate Hydrate (CSH), Calcium Aluminate Hydrate (CAH) และ Calcium Hydroxide (CaOH2) สาร CSH และ CAH จะมีคุณสมบัติเป็นตัวเกาะยึดให้มวลดินเข้าด้วยกันทำให้รวมตัวกันเป็นมวลขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแรงสูงขึ้น
CaOH2 ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยาปอสโซลานิกกับ Soil Silica และ Soil Alumina ในดิน ทำให้เกิดสาร CSH และ CAH เพิ่มเติมจากปฏิกิริยาที่เกิดจากซีเมนต์โดยตรง
ปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสมกับดินขึ้นอยู่กับชนิดของดินและความแข็งแรงของวัสดุผสมที่ต้องการ ส่วนใหญ่ปริมาณปูนซีเมนต์จะอยู่ระหว่าง 200-300 กก./ลบ.ม. ของดินเดิม ในกรณีที่ต้องการได้เสาเข็มดิน-ซีเมนต์ที่มีความแข็งแรงมากในระยะเวลาอันสั้น อาจใช้ปริมาณซีเมนต์สูงถึง 500 กก./ลบ.ม. หรือมากกว่านี้
คุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุผสมดิน-ซีเมนต์
ผลจากการก่อสร้าง Cement Column ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เช่น การนำ Jet Grouting Technique ไปประยุกต์ใช้ในที่ราบลุ่มมาน้ำเจ้าพระยาประมาณ 100 โครงการ ได้มีการสุ่มเจาะเก็บตัวอย่างวัสดุผสมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มในแต่ละงาน และไดนำตัวอย่างที่เป็นตัวแทนไปทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรม ดินเดิมซึ่งอ่อนในระดับ very soft clay (qu ~ 0.6-2 ตัน/ตร.ม.) ได้เปลี่ยนคุณสมบัติเป็น hard clay (qu > 40-250 ตัน/ตร.ม.) ภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือน และ tangent modulus of elasticity (Et) ที่ 50% qu จะสูงกว่า 5,000 ตัน/ตร.ม. ส่วนค่า strain ที่กำลังอัดสูงสุดจะอยู่ประมาณ 0.8-1.0 % และหน่วยน้ำหนักแห้งมีค่าต่ำในระดับเพียง 0.5-0.7 ตัน/ลบ.ม. (Low dry unit weight) ในขณะที่ปริมาณน้ำในวัสดุผสมสูงถึงระดับ 90-170% วัสดุผสมดิน-ซีเมนต์จะมีลักษณะแข็งเปราะกว่าวัสดุดินเดิมที่มีคุณสมบัติเป็น plastic
เทคนิคการก่อสร้าง Cement Column ด้วยวิธี Jet Grouting
Jet Grouting Technique เป็นวิธีการฉีดน้ำปูนซีเมนต์เข้าไปผสมรวมกับเนื้อดินด้วยความดันสูงมากในระดับ 200 – 400 บาร์ ผ่านทางหัวฉีด (Nozzle) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1.4-3.0 มม. เรียงตัวอยู่ในแนวนอนรอบส่วนปลายล่างของก้านเจาะจำนวน 1-8 หัวฉีด ในขณะทำงานเครื่องเจาะจะหมุนกดก้านเจาะเจาะแหวกดินลงไปช้าๆ พร้อมทั้งฉีดน้ำตัดดินด้วยความดันสูง เมื่อถึงระดับความลึกที่กำหนดจะหมุนก้านเจาะด้วยอัตราความเร็ว 6-15 รอบต่อนาที พร้อมทั้งยกดึงขึ้นเป็นจังหวะประมาณ 2-30 ซม. ในขณะเดียวกันจะอัดฉีดน้ำปูนซีเมนต์ความดันสูงที่มีพลังงานจลน์ความเร็วประมาณ 200 ม./วินาที หรือสูงกว่า แหวกทะลุทะลวงตัดย่อยดินให้ผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน การทำงานจะควบคุมด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับความลึกของชั้นดินที่ต้องการปรับปรุง วัสดุผสมดิน-ซีเมนต์จะก่อรูปทรงกระบอกในลักษณะเหมือนเสาเข็ม ซึ่งเรียกว่า Cement Column

ขั้นตอนการส่งน้ำ -ซีเมนต์
ศูนย์จ่ายปูนซีเมนต์ แหล่งน้ำสะอาด
ไซโลเก็บปูน ถังพักน้ำ
ถังชั่งปูนซีเมนต์ ถังตวงน้ำ

เครื่องผสมน้ำซีเมนต์
ถังกวนป้องกันการตกตะกอน
ปั๊มความดันสูง
เครื่องวัดปริมาตร
รถเจาะ

ขั้นตอนการดำเนินการทำ Jet Grouted Piles


1) ผังแสดงขั้นตอนการทำงาน

1. เคลื่อนรถเจาะเข้าจุดเจาะ

2. กดหมุนก้านเจาะจนถึงระดับที่กำหนด
3. อัดฉีดน้ำปูนซีเมนต์
4. ดึงก้านเจาะขึ้นด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ จนถึงระดับที่ต้องการ
5. ตรวจสอบอุปกรณ์


2) ขั้นตอนการทำงานในสนาม

ก) เคลื่อนรถเจาะเข้าจุด ตั้งก้านเจาะให้ตรงศูนย์เสาและให้ได้แนวดิ่ง
ข) หมุนกดก้านเจาะ หมุนกดหัวเจาะจนถึงระดับที่ออกแบบ
ค) อัดฉีดน้ำปูนซีเมนต์ อัดฉีดน้ำปูนซีเมนต์ด้วยความดันที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง
ง) ดึงก้านเจาะขึ้น ถอนก้านเจาะขึ้นเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ
ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติจนถึงระดับที่ออกแบบ
จ) ตรวจสอบอุปกรณ์ ล้างท่อส่งน้ำปูนและหัวเจาะ ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักร
การประยุกต์ใช้ Cement Column ในงานก่อสร้าง
แนวทางการประยุกต์ใช้ประโยชน์จาก Cement Column สามารถดัดแปลงออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละงานได้หลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดของงานซึ่งต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดีในคุณสมบัติของวัสดุผสมดิน-ซีเมนต์ และพฤติกรรมระหว่างเสาเข็มดิน-ซีเมนต์กับดินโดยรวม
งานที่ได้นำ Cement Column ไปประยุกต์ใช้สามารถจัดแบ่งได้ตามลักษณะงานดังนี้

1. ใช้ปรับปรุงดินฐานรากเพื่อเพิ่ม bearing capacity ของชั้นดินอ่อน และเพื่อลดการ
ทรุดตัวของคันดินถมที่จะก่อสร้างบนชั้นดินอ่อนนั้น
2. ใช้ปรับปรุงดินที่มีคุณภาพต่ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้ผนังบ่อขุดหรือเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ผนังกำแพงกันดินริมน้ำที่เริ่มชำรุดเสียหาย
3. ใช้กำแพงเสาเข็มดิน-ซีเมนต์เป็นกำแพงทึบน้ำ (Cut Off Wall) ป้องกันการรั่วซึมของน้ำไม่ให้ไหลเข้าสู่บริเวณที่ต้องการป้องกัน
4. งานปรับปรุงดินบริเวณหลังผนังสถานี (Diaphram Wall) ขณะเริ่มขุดเจาะอุโมงค์ และขณะขุดเจาะไปบรรจบกับสถานีปลายทาง
5. งานปรับปรุงดินบริเวณอุโมงค์เข้า-ออกฉุกเฉิน (Intervention Shaft) และอุโมงค์เชื่อมต่อ (Passenger Adit)
6. งานปรับปรุงดินบริเวณพื้นบ่อขุดเพื่อป้องกันปัญหาการแยกตัว (Heave) ของพื้นขณะขุดดิน
7. งานปรับปรุงดินบริเวณเครื่องขุดอุโมงค์ (TBM) ในงานซ่อมแซมเครื่องขุดเจาะ
8. งานปรับปรุงดินเพื่อซ่อมรอยแตกของท่อใต้ดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 เมตรขึ้นไป
9. งานเสริมความแข็งแรงให้กับฐานรากเดิม
10. งานป้องการการเลื่อนไถลและการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำ

งานปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดิน (Slope
Stabilization) ให้บริการตรวจสอบ ศึกษาและแก้ไขเสถียรภาพของลาดดิน โดยใช้หลักการที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการ - Soil Nailing - Jet Grouting Pile/Wall - Earth Reinforcement - Horizontal Drains - Mini-bored pile in






งานตรวจสอบสภาพชั้นดิน (Ground Investigation) ให้บริการ สำรวจสภาพชั้นดิน เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงการ






วิธีการปักหลัก เสริมดิน ป้องกันตลิ่งพังริมฝั่งโขง

เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่บริเวณริมแม่น้ำโขงบ้านปากอิงใต้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชาวบ้านจากชุมชนต่างๆทั่วทุกภาคกว่า 10 แห่ง อาทิ ชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชุมชนคนไทยพลัดถิ่น จ.ระนอง ชุมชนบางขุนเทียน ชุมชนเมืองอุบล เป็นต้น กว่า 200 คน พร้อมชาวบ้านปากอิง ได้ร่วมกันสร้างตลิ่งริมแม่น้ำโขง หลังเกิดการพังทลายตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 โดยชาวบ้านเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในประเทศจีน นายบุญคง บุญวาส ผู้ใหญ่บ้านปากอิงใต้ กล่าวว่ารู้สึกดีใจและปลื้มใจมากที่ชาวบ้านจากทั่วทุกภาคมาร่วมกันช่วยเหลือสร้างตลิ่งให้ชาวปากอิง ซึ่งทุกวันนี้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากเดิมที่เคยคาดการณ์ได้ว่าน้ำจะลดหรือเพิ่มช่วงไหน แต่ทุกวันนี้กลับคาดการณ์ไม่ได้เลย โดยเฉพาะการเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อครั้งก่อน ทำให้บ้านเรือนและไร่นาเสียหายอย่างหนักมากกว่า 300 ไร่

“เราไม่รู้เลยว่าน้ำจะท่วม เมื่อก่อนพอฝนตกหนักน้ำจากแม่น้ำอิงก็จะไหลลงแม่น้ำโขง ขณะที่น้ำจากทิศเหนือของแม่น้ำโขงก็จะไหลลงมาเช่นกัน ทำให้กระแสน้ำมาดันกันอยู่แถวนี้ แต่น้ำท่วมครั้งก่อนกลับมีแต่น้ำโขงไหลทะลักมามหาศาลโดยชาวบ้านไม่รู้ตัวเลย พวกเราจึงเชื่อว่าเป็นการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนในประเทศจีน” นายบุญคงกล่าว ด้านนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว แกนนำกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่าความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งก่อนมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 85 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจีนต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำ เพราะมีความชัดเจนว่ามีสาเหตุจากโครงการพัฒนาของจีน โดยเฉพาะการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ซึ่งเรื่องนี้ทางการจีนจะนิ่งเฉยต่อความเดือนร้อนของชาวบ้านต่อไปไม่ได้ มิฉะนั้นจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่าจีนมีผลประโยชน์มหาศาลอยู่ในย่านนี้ หากไม่สะสางปัญหาก็จะกลายเป็นประเด็นขัดแย้งกับชาวบ้านเพิ่มขึ้นทุกวัน นายนิวัฒนธ์กล่าวว่า เครือข่ายชาวบ้านซึ่งมากันจากทุกภาคจะร่วมกันออกแถลงการณ์ถึงรัฐบาลจีนโดยยื่นหนังสือผ่านสถานทูตจีนประจำประเทศไทย และทำหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งรัฐบาลไทย เพื่อให้มีการเจรจาแกไขปัญหาของชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำ ซึ่งหากรัฐบาลจีนยังไม่คิดที่จะรับผิดชอบ เครือข่ายชาวบ้านของไทยก็จะประสานไปยังประเทศต่างๆที่อยู่ท้ายน้ำโขงเพื่อหามาตรการตอบโต้ประเทศจีน “ในอนาคตแล้ว เราพยายามจะเชื่อมต่อให้ประชาชนตลอดลำน้ำโขงจัดตั้งเป็นสภาลุ่มน้ำโขง เพื่อให้มีสิทธิ์มีเสียงในการจัดการทรัพยากรของตัวเอง แต่ตอนนี้อย่างน้อยรัฐบาลจีนค
วรเจรจากับรัฐบาลไทยถึงประเด็นปัญหาเฉพาะหน้านี้ก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต” นายนิวัฒน์ กล่าว ขณะที่นางสังวาล บุญน้อย ชาวบ้านจากบ้านสองคอน อ.โพธิไทร จ.อุบลฯ กล่าวว่าแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านจ.เชียงรายนี้มีความแตกต่างจากแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านชุมชนของตนเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่ประสบเหมือนกันคือเกิดความเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขงในลักษณะเดียวกัน โดยชาวบ้านไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าน้ำจะขึ้นหรือลงเมื่อใด ล่าสุดชาวบ้านที่ปลูกถั่วและทำเกษตรริมโขงต่างได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากเมื่อน้ำลดก็คิดว่าถึงเวลาเพาะปลูกแล้ว แต่ปรากฏว่าจู่ๆน้ำก็ท่วมขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งหลายคนเชื่อว่าเป็นการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนในจีน ทำให้แปลงเกษตรถูกน้ำท่วมหมด “ตอนนี้ชาวบ้านยังไม่รู้เลยว่าเขาจะมีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงที่บ้านกุ่มหรือไม่ เพราะถามใครก็ไม่มีใครรู้ แม้แต่ทางอำเภอ แต่เราเชื่อว่าเขาคงตั้งใจจะสร้างแน่เพราะมีการเขียนแผนผังต่างๆแล้ว นอกจากนี้ยังมีคนไปสำรวจด้วย” นางสังวาลกล่าว ด้านนายมาหามัดนาซือรี เมาตี ชาวบ้านจาก อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส กล่าวว่าการที่ชาวบ้านรวมตัวกันมาสร้างตลิ่งในครั้งนี้ถือว่าเป็นความเข้มแข็งที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง และบรรยากาศแตกต่างจาก 3 จังหวัดภาคใต้มากเพราะไม่ต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับความรุนแรง ซึ่งการได้และเปลี่ยนปัญหา





ผลสรุป
ปัญหาเรื่องการพังทลายและการกัดเซาะของตลิ่งแม่น้ำ

เป็นผลมาจากกระแสน้ำเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการกัด
เซาะและการพังทลายในเวลาต่อมา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้เกิดขึ้น
ตลอดเวลา ดังนั้น การดำเนินงานโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกัน
ตลิ่งแม่น้ำโขงจึงต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และตรงตามปัญหาที่
เกิดขึ้น
ลักษณะชั้นดินริมตลิ่งแม่น้ำจะเป็นดินที่ง่ายต่อการกัด
เซาะ โดยการพิบัติจะเริ่มจากลาดริมตลิ่งถูกกัดเซาะที่บริเวณเชิง
ลาด และจะเกิดการพิบัติต่อเนื่องไป โดยรูปแบบของการพิบัติจะ
เป็นแบบ Rotational slide ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ลึกนัก และมักพบรอย
แตกร้าวที่บริเวณผิวดิน (Tension cracks) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้
ลาดดินเกิดการพิบัติต่อไป
การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำในปัจจุบัน ใน
พื้นที่จังหวัดหนองคายถึงอุบลราชธานี ส่วนใหญ่รูปแบบของ
เขื่อนจะเป็นแบบเรียงหิน (Slope 1:2.5) และตอกเสาเข็ม ค.ส.ล.
ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่และการใช้งานบริเวณด้านหลังเขื่อน เพื่อ
ป้องกันการกัดเซาะเป็นส่วนใหญ่ การสร้างเขื่อนแบบเรียงหินจะ
มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าและใช้พื้นที่ด้านหลังเขื่อนน้อยกว่าเขื่อนฯ
แบบตอกเสาเข็ม ซึ่งจะทำในพื้นที่ที่เป็นแหล่งสำคัญ หรือตลิ่งที่มี
ถนนที่รับน้ำหนักบรรทุกจรมาก โดยเขื่อนฯแบบตอกเสาเข็มจะมี
ราคาค่าก่อสร้างสูงกว่าเขื่อนฯแบบเรียงหิน















3 ความคิดเห็น:

  1. วิธีคิดเจ๋งมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆนับถือ

    ตอบลบ
  2. ที่บ้านอยู่ริมคลอง ช่วงน้ำท่วม ตลิ่งพังมาก เอาเข็มไปกดแล้ว ก็ยังไม่อยู่ดิน กับ กำแพงเริ่มเป็นรอยร้ววทำ ยังไงดีคะ

    ตอบลบ
  3. Wynn Casino & Hotel - Mapyro
    Discover 5 광주 출장샵 hotels near 논산 출장안마 Wynn Casino 문경 출장마사지 & Hotel 의정부 출장안마 in Las Vegas (Nevada) with Mapyro. Wynn Hotel and Casino. Find 경주 출장샵 map of the Wynn Hotel

    ตอบลบ